ด้ามขันปอนด์ หรือประแจปอนด์ [Torque Wrench]
เป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คเพื่อการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป
ประแจปอนด์มีหลายชนิด เช่น
ประแจปอนด์แบบ Beam เป็นประแจปอนด์ที่จะมีด้ามสองด้ามขนานกัน อันบนจะไม่ขยับไว้ตั้งค่าแรงสปริง
ใช้ครั้งแรกโดยบริษัท Chrysler ประแจประเภทนี้ทำงานโดยใช้หลักการของ Hooke's law ที่ว่าแรงดันแปรผันโดยตรงกับระยะหดของสปริงดังกราฟด้ามล่าง
F =kX
ประแจปอนด์ แบบ Slipper เป็นประแจปอนด์ที่ทำงานด้วยระบบลูกกลิ้ง และแคมดังรูปข้างล่าง
โดยแคมจะติดอยู่กับหัวที่ไว้ต่อลูกบล็อก ลูกกลิ้งจะล็อคแคมไว้ด้วยค่าทอร์ค
ประแจปอนด์ แบบ Click เป็นแบบที่เราเห็นในท้องตลาดบ้านเราเยอะสุด
ใช้หลักการทำงานของระบบตัดต่อกำลัง ส่วนใหญ่จะใช้ลูกปืนดีเทนท์ / block/ pawl และสปริง เป็นตัวบังคับ โดยลูกปืนจะส่งแรงไปเรื่อยๆจนถึงค่าทอร์คที่ตั้งเอาไว้ เมื่อถึงค่าลูกปืน หรือบล็อกยึดจะถูกดันออกมาจากที่ยึดทำให้เกิดเสียงคลิกขึ้น เมื่อได้ยินเสียงแล้วควรหยุดไขทันที
ประแจปอนด์ แบบ Electronic เป็นด้ามขันปอนด์ที่ใช้ Strain gauge หรือ เกจวัดแรงตึงเครียด (Strain) ของวัตถุ แปลงให้เป็นค่า ทอร์คที่ต้องการ โดยมีความแม่นยำอยู่ประมาณ +/- 0.5% ถึง 4%
นอกจากนั้นเซ็นเซอร์อื่นๆก็สามารถใช้กับประแจปอนด์แบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น angle sensor หรือ electronic gyroscope ที่เอาไว้วัดมุม และการหมุน
ประแจปอนด์แบบ Hydraulic ประแจปอนด์ประเภทนี้ต้องใช้ความแม่นยำสูงมาก ส่วนใหญ่ใช้ในงานการบิน อุตสาหกรรมหนัก และการก่อสร้าง
การดูแลรักษาประแจปอนด์
ส่วนประกอบหลักของประแจปอนด์ก็คือสเปริง และลูกปืนหรือบล็อคยึด (Block/Pawl) สปริงมีอายุการใช้งานของมัน สปริงอาจสูญเสียความยืดหยุ่นได้หากถูกยืดหรือบีบอัดมากไป ส่วนลูกปืน หรือบล็อคยึดหากอยู่ผิดที่นานๆก็อาจสึก หรืออาจเคลื่อนไปอยู่ผิดที่ ทำให้ค่าทอร์คไม่ตรง
การดูแลรักษาทำได้ง่ายๆดัังนี้
- แบ่งการไขเป็น 2 จังหวะ ครั้งแรกไขแน่นครึ่งเดียว แล้วค่อยใช้ประแจปอนด์ไขตอนสุดท้าย
- ทำความสะอาดน็อต และโบล์ทให้สะอาดก่อนไข
- ก่อนเก็บประแจปอนด์ให้ตั้งค่าทอร์คให้กลับมาที่จุดต่ำสุดเพื่อคลายสปริง (แต่อย่าตั้งต่ำกว่าค่าต่ำสุด)
- ห้ามเอาประแจปอนด์ไปไขคลายน็อต
- ห้ามทำประแจปอนด์ตก การตกทีนึงอาจทำให้ค่าทอร์คคลาดเคลื่อนได้ทันที
เลือกชมประแจปอนด์ Star, Duramax