หัวเทียนเป็นชิ้นส่วนที่มีหน้าที่จุดระเบิดส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้เพื่อดันลูกสูบให้สร้างกำลังออกจากเครื่องยนต์ การจุดระเบิดมาจากการประกายไฟจากขั้วบวกไปขั้วลบของหัวเทียน รอบเครื่องยนต์สามารถมีค่าสูงเกิน 10,000รอบต่อนาที ซึ่งหมายความว่าหัวเทียนที่ดีจะต้องสามารถจุดระเบิดให้แม่นยำได้ในช่วง 0.001 วินาที และทนความร้อนสูงพอ
โครงสร้างของหัวเทียนจะมีแกนทองแดงที่ต่อไปถึง Terminal ปลั๊กหัวเทียน ห่อหุ้มด้วยวัสดุฉนวนกันไฟฟ้าและความร้อน ที่ปลายแกนทองแดงจะมี Electrode เช่น Nickel, Platinum, Iridium เชื่อม หรือเคลือบบริเวณปลายเพื่อให้ไฟกระโดดไปลงกราวน์ที่เขี้ยวหัวเทียน โครงเหล็กด้านนอกจะมีเกลียว และหกเหลี่ยมไว้ประกอบเข้ากับหัวลูกสูบ หัวเทียนบางอันก็จะมีแหวนรองไว้ให้ไขให้สนิทยิ่งขึ้น บางรุ่นจะมีตัวต้านทาน 5K Ohm อยู่ตรงกลางเพื่อลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะมารบกวนการจุดระเบิด
ชนิดของขั้วหัวเทียนที่พบทั่วไปมีดังนี้ :
หัวเทียนขั้ว Nickel เขี้ยวเดียว
หัวเทียนประเภทนี้จะมีแกน Electrode จะเป็นทองแดงและมีปลายจะเป็น Nickel Alloy เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5mm ซึ่งถือเป็นขั้วหัวเทียนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด และมีขั้วกราวด์เป็น Nickel หัวเทียนขั้ว Nickel จะมีความแข็งน้อยกว่าขั้ว Platinum และ Iridium เพราะฉะนั้นปลายขั้วจะสึกเร็วกว่าอีกสองแบบ หัวเทียนขั้ว Nickel จะเหมาะใช้กับเครื่องยนต์เก่าๆที่สร้างแรงดันไฟฟ้าต่ำ ถ้าเอาไปใช้กับเครื่องยนต์ใหม่ๆที่จ่ายไฟแรงสูงหัวเทียนประเภทนี้จะสึกเร็วมาก เครื่องยนต์ใหม่ๆบางรุ่นจะโดนออกแบบมาพิเศษให้ใช้เฉพาะกับหัวเทียนขั้ว Nickel เท่านั้น ถ้าเจอเคสนี้เราไม่แนะนำให้อัพเกรดเป็น Platinum หรือ Nickel เท่าไหร่
หัวเทียนประเภท NICKELจะมีระยะเปลี่ยนอยู่ที่ 20,000-40,000 กิโลเมตร
หัวเทียน Nickel บางรุ่นจะมีการบากร่อง Electrode เป็นตัว V (V-Groove/ V-Power)
หัวเทียนประเภทนี้ประกายไฟจะถูกจุดรอบๆร่อง V ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าแบบ Nickel ธรรมดาตรงที่ต้องการแรงไฟในการจุดที่น้อยลง, ลดการเกิดคราบเขม่าสะสม และทนต่อการสึกหรอมากขึ้น หลักคือร่องV จะช่วยลด "flame damping effect" หรือคืออาการที่แกน Electrode ดูดความร้อนออกจากประกายไฟทำให้การจุดระเบิดเสียพลัง ส่วนใหญ่หัวเทียนประเภทนี้จะพบเป็นหัวเทียนติดรถ เช่นหัวเทียนของFord Escape เบอร์ TR55
เส้นผ่าศูนย์กลางขั้ว Electrodeหัวเทียนมีผลต่อการจุดระเบิดตรงที่ยิ่งมีขนาดเล็ก หัวเทียนจะใช้แรงไฟน้อยลงในการทำให้เกิดประกาย
หัวเทียน Nickel หลายเขี้ยว (Multi-Grounded NICKEL SPARK PLUGS)
อ่านข้อดีข้อเสียของหัวเทียนหลายเขี้ยวได้ที่นี่เลยค่ะ
คุยกันเรื่อง หัวเทียนหลายเขี้ยว
หัวเทียนขั้ว Platinum แบบปลายเดี่ยว ( SINGLE PLATINUM SPARK PLUGS )
หัวเทียนประเภทนี้จะมีแกน Electrode จะเป็นทองแดงและมีปลายจะเป็น Platinum Disc เชื่อมที่กลาง Electrode หัวเทียนชนิดนี้มีความแข็งมากกว่า Nickel จึงทำให้สึกยากกว่า และมีอายุการใช้งานที่นานกว่า นอกจากนี้ยังมีอุณหภูมิการใช้งานที่ร้อนกว่าจะมีผลเรื่องการป้องกันการเกิดคราบเขม่าเกาะบริเวณปลายหัวเทียนดีขึ้น
หัวเทียนขั้ว Platinum แบบปลายคู่ ( DOUBLE PLATINUM SPARK PLUGS )
หัวเทียนขั้ว Platinum แบบปลายคู่ จะมี Platinum Disc อยู่ทั้ง 2 ฝั่งของขั้วหัวเทียน หัวเทียนประเภทนี้ถูกออกแบบมาใช้กับเครื่องยนต์ที่ใช้การจุดระเบิดแบบ "Waste Spark" หรือคือการที่สองสูบจะจุดพร้อมกัน สูบนึงจุดที่จังหวะอัดเพื่อให้กำลังกับเครื่องยนต์ จังหวะนี้ประกายไฟจะโดดจากขั้วบวกไปเขี้ยวกราวน์ ในขณะที่อีกสูบที่อยู่ในจังหวะคายไฟจะโดดกลับทางกัน และเพราะจังหวะนี้จุดในจังหวะคายสูบนี้ก็จะเป็นการจุดที่ศูนย์เปล่า (เลยเรียก Waste Spark)
เครื่องยนต์ประเภทนี้ห้ามเอาหัวเทียน Platinum แบบเขี้ยวเดี่ยวหรือหัวเทียน Nickel มาใส่เพราะหัวเทียนเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาให้เจอการจุดแบบกลับอีกทาง แต่สามารถอัพเกรดเป็นหัวแบบ Iridiumได้ค่ะ
ตัวอย่างหัวเทียนประเภทนี้เช่น หัวเทียนติดรถของ Nissan Cefiro A32, A33 เบอร์ PFR5G-11
หัวเทียนประเภท LASER PLATINUM จะมีระยะเปลี่ยนอยู่ที่ 100,000 กิโลเมตร
หัวเทียนขั้ว Iridium IX
หัวเทียนประเภทนี้จะมีแกน Electrode จะเป็นทองแดงและมีปลายจะเป็น Iridium หนาประมาณ 0.4 - 0.6mm เชื่อมติดด้วยการเชื่อมเลเซอร์ และมีขั้วกราวน์เป็นNickel หัวเทียนประเภทนี้จะมีความแข็งมากกว่าขั้ว Platinum ประมาณ 25% ทำให้เป็นหัวเทียนที่มีอายุการใช้งานที่นานที่สุดในกลุ่ม และแน่นอนแพงที่สุดด้วย
ผู้ผลิตหลายค่ายรถกำหนดให้ใช้หัวเทียนขั้ว Iridium ในคู่มือในกรณีนี้เราไม่แนะนำให้ downgrade มาใช้ขั้ว Platinum หรือ Nickel
หัวเทียนประเภท IRIDIUM IX จะมีระยะเปลี่ยนอยู่ที่ 60,000 กิโลเมตร
หัวเทียนขั้ว LASER Iridium (Highly ignitable iridium plug-angular chip type)
หัวเทียนประเภทนี้จะมีแกน Electrode จะเป็นทองแดงและมีปลายจะเป็น Iridium หนาประมาณ 0.4 - 0.6mm เชื่อมติดด้วยการเชื่อมเลเซอร์ และมีขั้วกราวน์เป็น Platinum ลูกค้าสามารถอ่านข้อแตกต่างของสองรุ่นนี้ได้ที่นี่เลยค่ะ
หัวเทียน NGK รุ่น IRIDIUM กับ LASER IRIDIUM ต่างกันยังไง?
หัวเทียนประเภท LASER IRIDIUM จะมีระยะเปลี่ยนอยู่ที่ 100,000 กิโลเมตร
หัวเทียนขั้ว LASER Iridium ( Highly ignitable iridium plug – DFE type )
หัวเทียนประเภทนี้จะมีแกน Electrode จะเป็นทองแดงและมีปลายจะเป็น Iridium หนาประมาณ 0.4 - 0.6mm เชื่อมติดด้วยการเชื่อมเลเซอร์ และมีขั้วกราวน์เป็น Platinum รูปเข็มยื่นลงมา จะช่วยลด "flame damping effect" หรือคืออาการที่แกน Electrode ดูดความร้อนออกจากประกายไฟทำให้การจุดระเบิดเสียพลัง และเพิ่มความคงทนกับประสิทธิภาพการจุดระเบิดให้สูงขึ้น ยกตัวอย่างเบอร์ที่เป็นรุ่นนี้เช่นหัวเทียนติดรถ Honda Brio, CR-Z เบอร์ DIFR6D13
หัวเทียนขั้ว RUTHENIUM
อ่านบทความเกี่ยวกับการอ่านเบอร์หัวเทียน
ดูว่าบิ๊กไบค์แต่ละรุ่นใช้หัวเทียนเบอร์ไหน
ดูว่ารถยนต์แต่ละรุ่นใช้หัวเทียนเบอร์ไหน
สนใจราคาส่ง หรือติดตามบทความใหม่ๆจากเราที่