ชนิดของแบตเตอรี่

ชนิดของแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์

ก่อนจะไปดูชนิดของแบตเตอรี่มาดูการทำงานของแบตเตอรี่กัน
ชนิดของแบตเตอรี่
แบตส่วนมากใช้เทคโนโลยีของ Lead-Acid Battery ประกอบไปด้วย
-แผ่นขั้ว (Electrode) ในที่นี้เป็น ออกไซด์ของตะกั่ว (ขั้วบวก/Cathode) กับตะกั่ว (ขั้วลบ/Anode)
-และกรดซัลฟิวริก ผสมน้ำทำหน้าที่เป็นสารละลายนำไฟฟ้า (Electrolyte)
แบตเตอรี่ให้พลังงานจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่่อนที่จากขั้วลบไปขั้วบวก หรือเรียกว่าการคายประจุ (Discharging)
ชนิดของแบตเตอรี่เมื่อเกิดการคายประจุบ่อยๆ สารละลายนำไฟฟ้าจะเจือจางลงเรื่อยๆ สุดท้ายจะจางจนเกือบเป็นน้ำทั้งหมด และบนแผ่นธาตุจะมีตะกั่วซัลเฟต (PbSO4) เกาะอยู่ทั้งสองฝั่ง  ทำให้แบตหมดสภาพ การชาจแบตใหม่จะช่วยให้ปฎิกิริยาเคมีด้านบนย้อนกลับได้ และช่วยคืนสภาพแบตอีกครั้ง
แบตเตอรี่มีหลายชนิดให้เลือก เช่น แบตเตอรี่ Conventional (แบตน้ำ), แบตเตอรี่ Maintenance Free (แบตแห้ง), แบตเตอรี่แบบ Gel, แบตเตอรี่ Lithium Iron ฯลฯ

1. แบตเตอรี่ Conventional

ชนิดของแบตเตอรี่
แบตConventional จะมีแผ่นธาตุ ขั้วบวก ขั้วลบแช่อยู่ใน Electrolyte ตามรูป
แบตHigh Performance Conventional/ Yumicron จะดีกว่าแบบเก่าตรงที่มีแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุช่วยป้องกันการลัดวงจร ทำให้สามารถใส่แผ่นธาตุเข้าไปเพิ่ม และเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้มีแรงไฟมากกว่าแบบปกติกว่า 30%
ชนิดของแบตเตอรี่
ข้อดี ของแบตเตอรี่แบบConventional Lead-Acid คือส่วนใหญ่จะเป็นแบตที่ติดรถมา หาง่าย ราคาไม่แพง และใช้งานได้ดี
ส่วนข้อเสีย อย่างแรกคือมีน้ำหนักมาก แบตน้ำจะมีก๊าซเยอะ ทำให้ต้องคอยดูระดับน้ำในแบต และต้องคอยเติมน้ำกลั่นเมื่อระดับน้อยกว่าที่กำหนด ข้อเสียที่ต้องระวังอีกอย่างคือน้ำกรดอาจรั่วได้หากโดนผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง แบตชนิดนี้จะมีอัตราการคายประจุค่อนข้างสูงประมาณ 5% ต่อเดือนเวลาทิ้งไว้เฉยๆ
ข้อดีของแบตน้ำ
รหัสของแบตเตอรี่แบบ Conventionalสังเกตได้สองแบบ โดยมีความหมายตามภาพด้านล่าง
การอ่านเลขแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์

2. แบตเตอรี่ Maintenance Free

Maintenance Free Battery
แบบที่สองคือแบต Maintenance Free ซึ่งใช้เทคโนโลยี Lead-Acid เดิมแต่ทำให้ดีขึ้น แบตแบบนี้บางทีีก็เรียกแบตแห้ง, แบต AGM (Absorbed Glass Mat), หรือแบต VRLA (Valve Regulated Lead-Acid)
ปฏิกริยาเคมีที่เกิดขึ้นในแบต Maintenance Free เป็นปฏิกริยาเดียวกันกับที่เกิิดขึ้นในแบต Conventional แต่แทนที่สาร Electrolyteจะเป็นน้ำท่วมอยู่ในแบต Electrolyte จะถูกดูดซึมไว้ในแผ่น Fiber Glass โดยจะอยู่ระหว่างแผ่นธาตุขั้วบวก และขั้วลบทำให้ไม่ต้องเติมน้ำอีก
AGM cutaway
ข้อดี ของแบตเตอรี่แบบMaintenance Free ตามชื่อคือ ดูแลง่าย ไม่รั่ว และไม่ต้องมาคอยเติมน้ำ นอกจากนี้ยังมี CCA (Cold Cranking Amps) หรือแรงจ่ายกระแสเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ในสภาวะเย็นที่สูงกว่าแบตน้ำ ทั้งยังมีอัตราการคายประจุก็น้อยกว่าแบตน้ำ โดยค่าอยู่ที่ประมาณ 1% ต่อเดือน ทำให้อายุการใช้งานนานกว่า อีกเรื่องที่เจ๋งของแบตนี้คือการมีวาล์วระบายก๊าซเฉพาะเมื่อระดับความดันเกิดค่าที่กำหนด ทำให้ไม่ค่อยศูนย์เสียสารละลายนำไฟฟ้าเยอะเท่าแบตน้ำ
ข้อเสียที่ตามมาคือราคาที่แพงขึ้นเพื่อแลกกับคุณภาพที่ดีกว่า
ข้อดีข้อเสียแบตMaintenance Free
รหัสของแบตเตอรี่ Maintenance Free มีความหมายตามภาพด้านล่าง
การอ่านเลขแบตMaintenance Free

แบตเตอรี่แบบอื่นๆ

นอกจากแบตเตอรี่สองประเภทนี้ ยังมีแบตเตอรี่ที่ล้ำกว่า (และแพงกว่า) เช่น Gel-Batteryที่เหมือนแบต Maintenance Free แต่Electrolyteจะอยู่ในรูปแบบเจล และLithium Iron Phosphate batteryที่เบากว่าแบตแบบอื่นมากถึง 5 เท่า และมีอายุการใช้งาน กับแรงจ่ายไฟที่มากกว่า
ชนิดของแบตเตอรี่
เลือกชมแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ของเราได้ที่นี่