เรื่องเข้าใจผิดบ่อยเกี่ยวกับแอมป์แบตเตอรี่

เรื่องเข้าใจผิดบ่อยเกี่ยวกับแอมป์แบตเตอรี่

อย่างนึงที่ผู้ซื้อแบตเตอรี่ลิเธียมสังเกตุได้คือผู้ผลิต และผู้ขายจะเขียนสเปคความจุแบตเตอรี่เป็น PbEq หรือ LAh ( Lithium Amp Hour ) และ Wh ( Watt Hour ) ไม่ใช่ Ah ( Amp Hour ) เหมือนแบตเตอรี่ตะกั่วกรด สองหน่วยนี้เทียบกันได้อย่างไร มีคำตอบในบทความนี้ค่ะ

ก่อนจะไปอ่านต่อด้านล่างถ้าใครอยากได้พื้นฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทียบสเปคความจุแบตเตอรี่ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

แบตเตอรี่ลิเธียมเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ตะกั่วกรด จะมีข้อได้เปรียบ ตั้งแต่น้ำมีน้ำหนักเบากว่าเกือบ 3 เท่า มีอัตราการคายประจุช้า และมีรอบ Cycle การคายประจุเยอะกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดหลายเท่า

แบตเตอรี่ประเภทนี้มีความต้านทานภายในที่ต่ำ ทำให้สามารถชาร์จไฟเข้าได้เร็วกว่า รวมไปถึงปล่อยกระแสได้มากกว่าถ้าเทียบกับแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่มีความจุเท่ากัน และทำให้มี CCA ที่สูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดมาก

อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าหน้าที่หลักของแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ คือการให้กระแสไฟใหญ่ๆในเวลาสั้นๆเพื่อสตาร์ทเครื่อง ในการจะทำแบบนั้นได้ดี แบตเตอรี่ต้องมีตัวต้านทานภายในที่น้อย หรือมีตัวเก็บประจุที่สูง ให้สเปคอื่นๆเท่ากันหมดแบตเตอรี่ยิ่งความจุสูง ความต้านทานภายในจะยิ่งน้อย และก็จะยิ่งสตาร์ทรถได้ดีกว่า

ผู้ผลิตแบตเตอรี่ตะกั่วกรดนอกเหนือจาก CCA จะใช้หน่วย AHr / Ah ( shored charge capacity) ในการแสดงความสามารถในการสตาร์ทเครื่อง แทนความจุที่สามารถใช้ได้จริง โดยหน่วยนี้จะอิงจากการปล่อยประจุทั้งหมดที่อัตราการปล่อยประจุที่ต่ำ ในการใช้งานจริงกระแสไฟที่ปล่อยออกมาจะต่ำกว่าความจุที่ระบุไว้ นอกจากนี้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดจะทำปฏิกิริยาคลายประจุหรือ Sulfating ตั้งแต่เริ่มมีคายประจุเพียงน้อยนิด ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ประเภทนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆตามอายุการใช้งาน ทำให้ความจุจริงๆที่ใช้ได้อาจน้อยกว่าถึง 20% ของสเปคที่ระบุไว้โดยผู้ผลิตซะอีก และทำให้ประสิทธิภาพในการสตาร์ทรถน้อยลงเมื่อโวลท์ตก

ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียมจะด้วยวัสดุการผลิตที่แตกต่างกัน จะมีระดับความต้านทานภายในต่อความจุน้อยกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดมากถึง 3 เท่า และมีอัตราการคายประจุได้ลึกมาก ความจุจริงๆของแบตเตอรี่นี้จึงไม่สูงเท่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรด

ยกตัวอย่าง แบตเตอรี่ YTX7L-BS/ FTX7L-BS ที่มีความจุ 6Ah , CCA 100 กรณีใช้แบตเตอรี่ลิเธียมแทนจะใช้เบอร์ HJTZ7S-FP ( PbEq 4Ah CCA 150 )กับ HJTZ7S-FPZ ( PbEq 7Ah CCA 240 ) แทนได้

แบตเตอรี่ HJTZ7S-FP จะเขียนสเปคความจุว่า PbEq หรือ Lead Acid Equivalent Capacity ที่ 4Ah แปลว่าแบตเตอรี่ลิเธียมนี้สามารถใช้แทนแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่มีความจุ 4Ah ได้ แต่ถ้าดูสเปคความจุของแบตเตอรี่ลิเธียมตัวนี้นี้จะอยู่ที่ 2.4Ah เท่านั้น

ถามว่าแล้วทำไมมันถึงแทนกันได้ ก็เพราะคุณสมบัติของแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีความต้านทานภายในต่ำทำให้แบตเตอรี่สามารถคายประจุได้ลึกถึง 80% ของความจุสูงสุด ในขณะที่แบตเตอรี่ตะกั่วกรดจะคายได้ไม่ถึง 1/3 ของความจุเต็มด้วยซ้ำ นอกจากนี้ถ้าดูกราฟด้านขวาล่างบริเวณขวาสุด จะเห็นได้ว่าต่อให้แบตเตอรี่ลิเธียมถูกคายประจุไป 2000 Cycle แล้วความจุคงเหลือยังมีอยู่ถึง 50% ของความจุตั้งต้นเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็นกรณีของแบตเตอรี่ตะกั่วกรดทั่วไปจะได้เพียงประมาณ 300 Cycle และอัตราประจุคงเหลือจะเหลือเพียงประมาณ 20% เท่านั้น

ด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างและใหม่มากของแบตเตอรี่ลิเธียมผู้ผลิตเลยใช้หน่วยเป็น PbEq เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกเปรียบเทียบการใช้งานได้ง่ายขึ้น

หมายเหตุ : อีกเรื่องที่อยากฝากไว้คือ เลขบนชื่อแบตเตอรี่ไม่ได้บอกถึงสเปคแอมป์แบตเตอรี่ การดูสเปคให้ดูบนเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือบนตัวแบตเตอรี่ เช่นแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเบอร์ YTZ5S จะมีความจุอยู่ 3.5Ah หรือแบตเตอรี่ YTZ10S จะมีความจุอยู่ที่ 8.6Ah ไม่ใช่ 5 กับ 10Ah ตามชื่อแบตฯค่า

ดูสินค้าแบตเตอรี่ที่ร้านได้ที่นี่

ติดตามบทความใหม่ๆจาก TARADFILTER ได้ทาง LINE@

เพิ่มเพื่อน