น้ำมันเครื่องทำหน้าที่
- ปกป้องชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ (ยืดอายุการใช้งาน)
- เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ โดยการซีลลูกสูบ และชิ้นส่วนที่สึกหรอต่างๆให้กำลังอัดสูงขึ้น
- ชะล้างสิ่งสกปรกตกค้างภายในเครื่องยนต์
- ระบายความร้อน และควบคุมอุณหภูมิเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องประกอบไปด้วย น้ำมันพื้นฐาน และสารเสริม
สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน หรือ The American Petroleum Institute (API) จัดกลุ่มน้ำมันพื้นฐานเอาไว้ 5 กลุ่มดังนี้
- ยิ่งความอื่นตัวของน้ำมันมาก พันธะโมเลกุลจะยิ่งแข็งแรง ทำให้ทนทานต่อการศูนย์เสียความหนืดในอุณหภูมิสูง
- เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักกำมะถันยิ่งน้อย น้ำมันก็จะยิ่งบริสุทธิ์ ทำให้โอกาสการเกิดการกัดกร่อน และอ๊อกซิเดชั่นในเครื่องยนต์ลดลง
- ค่า VI เป็นค่าบ่งบอกอัตราการเปลี่ยนแปลงของความหนืดต่ออุณหภูมิ ค่าVI ยิ่งสูงแปลว่าความหนืดจะผันแปรน้อยในอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้นค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี
น้ำมันสังเคราะห์ 100% คือน้ำมัน Group III, Group IV, และ Group V ส่วนน้ำมันที่ในตลาดเรียกกึ่งสังเคราะห์ ก็คือน้ำมันที่ผสมระหว่างน้ำมันที่น้ำมันพื้นฐาน เป็นน้ำมันแร่ (Group I, II, II+) และน้ำมันสังเคราะห์ 100% นั่นเอง
น้ำมัน Group III ต่อให้ทำมาจากน้ำมันแร่ก็จริง แต่ทางกฎหมายอเมริกาถือเป็นน้ำมันสังเคราะห์ 100% แล้วเนื่องจากกระบวนการ Hydro-cracked สามารถทำให้ปริมาณกำมะถัน และความอิ่มตัวเทียบเท่าน้ำมันสังเคราะห์
แล้วจะดูยังไงว่าน้ำมันขวดไหนเป็น Group ไหน?
ข้อมูลตรงนี้ผู้ผลิตจะไม่เขียนไปตรงๆบนฉลาก หากต้องการรู้ว่าน้ำมันแต่ละชนิดเป็น Group ไหน เราต้องไปดูที่ Data sheet ซึ่งจะหาได้ตามเว็บไซต์ผู้ผลิต รูปด้านล่างเป็น
Data Sheet ของ IPONE FULL POWER KATANA 10w-50
เราก็จะรู้ได้ว่าน้ำมันตัวนี้ ของมันมีค่า VI 167 และมีส่วนผสมของ ESTER ซึ่งเป็นสารที่พบบ่อย ในน้ำมันพื้นฐาน Group V สาร Ester สามารถทนความร้อนได้สูง และมีประสิทธิภาพในการชะล้างสิ่งสกปรกสูง ส่งผลให้อายุการใช้งานนานกว่า
นอกจากเรื่อง Group น้ำมัน API ยังมีมาตรฐานรับรองสำหรับน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน API S... ที่มีตั้งแต่ API SA, SB, ..., SL, SM, และมาตรฐานล่าสุดที่ออกมาในปี 2010 API SN และเครื่องยนต์ดีเซล API C... / FA-4 น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานใหม่ๆ จะไม่เหมาะสมมาใช้กับเครื่องยนต์ใหม่ๆ รูปด้านล่างบ่งบอกมาตรฐาน API ที่เครื่องยนต์รถแต่ละปียอมรับ
เลข 10w-40 15w-50 หมายถึงอะไร?
Society of Automotive Engineers (SAE) หรือสมาคมวิศวกรยานยนต์จัดหมวดหมู่น้ำมันตามเกรดความหนืดเป็น 2 ประเภท คือ
น้ำมันเกรดเดียว / Mono-Grade Oil ยกตัวอย่าง [SAE 30] จะมีค่าความหนืดในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสที่ SAE 30
น้ำมันสองเกรด / Multi-Grade Oil ยกตัวอย่าง [SAE 10w-30] จะมีค่าความหนืด 2 ค่า SAE 10 ในอุณหภูมิต่ำ และ SAE 30 ในอุณหภูมิสูง
- เลข 30 คือเกรดความหนืดของน้ำมันที่ 100 องศาเซลเซียส
- เลข 10w คือค่าเกรดความหนืดของน้ำมันที่ -17.8 องศาเซลเซียส
- W มาจากคำว่า Winter
น้ำมันเกรดเดียว เช่น SAE 30 หรือ SAE 10W จะมีความหนืดค่อนข้างคงที่ทำให้ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิบางช่วงเท่านั้น ทำให้เรามีน้ำมันสองเกรดเช่น SAE 10w-30 ซึ่งจะไหลดีทั้งเวลาที่เครื่องเย็น เพื่อไปหล่อเลี้ยงเครื่องให้ทันหลังสตาร์ท และปกป้องเครื่องด้วยความหนืดที่เพียงพอเวลาเครื่องทำงาน
หลายคนชอบถามว่าน้ำมันเครื่องรถยนต์ สามารถใช้กับมอเตอร์ไซค์ได้มั้ย ?
คำตอบ คือ ไม่แนะนำ เนื่องจากรอบเครื่องยนต์สูงสุดในการขับขี่ทั่วไปที่ไม่เท่ากัน
เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 20-60 องศา
นอกจากนี้ ชุดเกียร์ และชุดคลัชของมอเตอร์ไซค์ บางรุ่นจะอยู่ด้วยกัน
ทำให้น้ำมันเครื่องต้องมีความหนืดพอที่จะรองรับระบบคลัชด้วย
อะไรคือ JASO MA / JASO MB?
เพราะมอเตอร์ไซค์มีทั้งระบบคลัชแห้ง และคลัชเปียก องค์กรมาตรฐานยานยนต์ญี่ปุ่น Japanese Automobile Standards Organization ( JASO ) จึงตั้งมาตรฐานน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์ ไว้จัดหมวดหมู่น้ำมันเครื่อง โดยใช้ค่าแรงเสียดทานเป็นตัวกำหนด ( JASO T903 ) ค่าแรงเสียดทานของน้ำมันเครื่องมีผลมากต่อเครื่องยนต์ที่เป็นระบบคลัชเปียก หรือเครื่องยนต์ที่ระบบคลัชอยู่ห้องเดียวกับเครื่องยนต์ ทำให้น้ำมันเครื่องต้องไปหล่อลื่นระบบคลัชด้วย
เครื่องคลัชเปียกจะต้องใช้น้ำมันที่ได้มาตรฐาน JASO MA / JASO MA1 / JASO MA2 เท่านั้น ส่วนเครื่องยนต์คลัชแห้ง หรือรถสกูตเตอร์ใช้ได้ทั้งน้ำมันเครื่องที่มีมาตรฐาน JASO MB และ JASO MA
แล้วเวลาเลือกซื้อน้ำมันเครื่องต้องเลือกยังไง?
ในคู่มือรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์จะมีบอกรายละเอียด น้ำมันเครื่องที่ต้องใช้เอาไว้
ยกตัวอย่าง Kawasaki Ninja650 2017
คู่มือระบุให้ใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติ :
- API SG, SH, SJ, SL or SM ขึ้นไป (SN เป็นมาตรฐานล่าสุด สามารถใช้ได้)
- JASO MA, MA1. MA2
- คู่มือให้ใช้ 10w-40 เป็นหลักก็จริงแต่ ในวันที่อุณภูมิสูงเกิน 40 องศา ใช้เบอร์
10w-50 จะเหมาะกว่า
ถ้าคู่มือระบุให้ใช้เกรดความหนืดเบอร์ 10w-50 ใช้ 10w-40 หรือ 10w-60 แทนได้มั้ย?
ในบางเคสน้ำมันหนืดกว่าจะช่วยทดแทนส่วนที่สึกหรอของเครื่องยนต์ ให้ประสิทธิภาพเครื่องยนต์ยังดีอยู่ แต่น้ำมันที่หนืดไปจะทำให้เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น เพิ่มภาระให้กับเครื่องยนต์
ส่วนน้ำมันถ้าใช้ความหนืดน้อยไปหรือเบอร์ต่ำไป จะทำให้ปกป้องเครื่องยนต์ได้ไม่เต็มที่ ทำให้อายุเครื่องยนต์สั้นลง
แนะนำให้ใช้ความหนืดตามคู่มือ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามคู่มือกำหนดหรือบ่อยกว่า
สอบถามราคาส่ง และติดตามบทความจากเราได้ที่