ระบบเบรกสมัยนี้นิยมใช้ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) ที่ส่งถ่ายพลังงานผ่านของเหลว ในที่นี้คือน้ำมันเบรก โดยใช้คุณสมบัติของของเหลวที่ไม่สามารถบีบอัดได้ส่งพลังงานจากคันเบรกสู่ลูกสูบแม่ปั๊มเบรก ไปยังลูกสูบคาลิปเปอร์เบรก เพื่อบีบให้ผ้าเบรกติดกับจาน ระบบนี้เป็นที่นิยมมากกว่าแบบกลไก (Mechanical) ที่ใช้สายเคเบิ้ลเพราะ
1. ไม่ต้องปรับไปปรับมา
2. ได้แรงเบรกที่สูงขึ้น
3. สามารถตั้งค่าได้แม่นยำกว่า
ก่อนจะไปดูการทำงานของระบบเบรก เรามารู้จักส่วนประกอบต่างๆของระบบเบรกกันก่อน
ส่วนประกอบของระบบเบรก
การทำงานของระบบเบรก
เมื่อเรากำคันเบรกลูกสูบแม่ปั๊มเบรกจะเลื่อนเข้า และสร้างแรงดันในระบบ แรงดันจะถูกส่งผ่านน้ำมันเบรกไปดันลูกสูบคาลิปเปอร์เบรก ทำให้ลูกสูบดันผ้าเบรกไปชนกับจานเบรก
เมื่อเราคลายคันเบรก แรงดันของเหลวในระบบจะลดลง และดันน้ำมันเบรกกลับ ลูกสูบเบรกในคาลิปเปอร์เบรก และลูกสูบแม่ปั๊มเบรกจะคลายกลับที่เดิม
อะไรทำให้น้ำมันเบรกเป็นน้ำมันเบรก?
ถ้าระบบไฮดรอลิคสามารถใช้คุณสมบัติความไม่สามารถบีบอัดได้ของของเหลว ทำไมเราไม่ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำมันเครื่องแทนน้ำมันเบรกเลยล่ะ?
คำตอบก็คือ เพราะความร้อนที่ระบบเบรกไฮดรอลิคต้องเจอมีค่าสูงมาก ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของผ้าเบรก และจานเบรกจะมีผลต่อน้ำมันเบรก
เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวกลายเป็นก๊าสในระบบเบรก น้ำมันเบรกจะต้องมีจุดเดือดที่สูงมากๆ
ก๊าสเป็นสะสารที่สามารถบีบอัดได้ เมื่อมีก๊าสในระบบเบรกแรงดันจากคันเบรกที่จะถูกส่งผ่านไปที่ลูกสูบเบรกก็จะลดลง ทำให้เราเบรกไม่อยู่
อีกคุณสมบัติที่สำคัญของน้ำมันเบรกก็คือ น้ำมันเบรกจะต้องมีของความหนืดในแต่ละอุณหภูมิที่พอๆกัน หรือต้องไม่สูญเสียความหนืดในอุณหภูมิที่สูงนั่นเอง
ชนิดของน้ำมันเบรก
มาตรฐานที่เราพบเห็นบ่อยถูกกำหนดโดยกระทรวงคมนาคมในอเมริกา หรือ Department of Transportation ( DOT ) จัดหมวดหมู่น้ำมันเบรกตามจุดเดือด และความสามารถในการดูดความชื่้น
DOT 3, DOT 4 และ DOT 5.1 มีองค์ประกอบหลักเป็น Glycol-ether ข้อดีของน้ำมันเบรกประเภทนี้ก็คือเป็นของเหลวที่ถูกบีบอัดได้น้อยมาก แต่ก็มีข้อเสียคือ Glycol-ether เป็นสารที่ดูดความชื้น
ส่วนน้ำมันเบรก DOT 5 องค์ประกอบหลักของน้ำมันเบรกชนิดนี้จะเป็น Silicone ซึ่งมีข้อดีคือจะไม่ดูดความชื้นเลย ทำให้เราไม่ต้องมาคอยเปลี่ยนน้ำมันเบรกบ่อยๆ
แต่ข้อเสียก็คือจะถูกบีบอัดได้มากกว่าแบบ Glycol-ether ทำให้แรงเบรกที่ได้ไม่ดีเท่าอีก 3 เบอร์
น้ำมันเบรกเมื่อดูดความชื้นเข้าไปก็จะทำให้จุดเดือดลดลง ค่าจุดเดือดของน้ำมันเบรกจึงมีให้ดู 2 ค่า คือ DRY Boiling Point และ WET Boiling Point
โดยจุดเดือด DRY Boiling Point จะเป็นจุดเดือดก่อนน้ำมันเบรกดูดความชื้น และ WET Boiling Point คือจุดเดือดเมื่อน้ำมันเบรกดูดความชื้นเกิน 3.7%
Glycol-ether เป็นสารละลายประเภทหนึ่งเพราะงั้นอย่าให้โดนแฟริ่งรถเดี๊ยวสีลอก
มาตรฐาน DOT เปรียบเทียบจุดเดือดแห้ง และจุดเดือดเปียกของน้ำมันเบรกแต่ละเบอร์ได้ตามนี้้
DOT 3 จะมีค่าจุดเดือดทั้ง2ต่ำที่สุด DOT 4 และ DOT 5.1 จะมีค่าสูงขึ้นมา สังเกตความแตกต่างของจุดเดือด DRY และ WET Boiling Point จะมีค่าสูงมาก
น้ำมันเบรกมีคุณสมบัตินึงที่น่าสนใจอย่างนึงคือ ยิ่งจุดเดือดของน้ำมันสูงเท่าไหร่ ความเร็วในการดูดความชื้นก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
DOT 3 มีจุดเดือดต่ำที่สุดก็จริง แต่ก็ดูดความชื้นได้ช้ากว่า ทำให้ระยะเปลี่ยนถ่ายนานกว่ากรณีที่ใช้ DOT 4 หรือ DOT 5.1 ตามตารางข้างล่าง
การเลือกใช้น้ำมันเบรก
อย่างแรกเลยคือควรใช้น้ำมันเบรกตามสเปคที่คู่มือบอก หรือใช้เบอร์ที่สูงกว่า ถ้าคู่มือบอกให้ใช้น้ำมันเบรก DOT 4 เราควรใช้น้ำมันเบรก DOT 4 หรือ DOT 5.1
อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ ห้ามเอาน้ำมันเบรกชนิด Glycol-ether (DOT 3, DOT 4, DOT 5.1) [สีใสเหลือง] ไปผสมกับน้ำมันเบรกชนิด Silicone (DOT 5) [สีม่วง] เด็ดขาด
ไม่งั้นจะเป็นแบบภาพด้านล่าง และรถจะเบรกไม่อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้คนเอาไปผสมกัน น้ำมันเบรกเลยมีการแบ่งสีมาให้เป็นสีเหลือง กับสีม่วง
คู่มือบิ๊กไบค์ส่วนใหญ่ในบ้านเรานิยมให้ใช้ DOT 4 ส่วนพวก DOT 5 เราจะพบบ่อยในรถ Harley Davidson
ส่วนระยะการเปลี่ยนสามารถดูได้ในคู่มือค่ะ ส่วนใหญ่จะเน้นให้เปลี่ยนทุกๆปี ส่วนรถที่ใช้ในการแข่งก็ควรจะเปลี่ยนถี่หน่อย
สินค้าราคาปลีก-ส่ง
น้ำมันเบรก DOT4
น้ำมันเบรก DOT 5.1
ติดตามบทความหรือสอบถามราคาสินค้าราคาปลีก - ส่ง