ความรู้เรื่องเนื้อผ้าเบรก และมาตรฐานผ้าบรก

พื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อผ้าเบรก

การผลิตผ้าเบรกต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุหลายอย่าง ดังนี้
1. ต้องสามารถคงความสามารถในการใช้งานในอุณหภูมิสูง หรือไม่เกิดอาการ Brake Fade เมื่อใช้ไปนานๆ

[ Brake Fade คือสภาวะที่เบรกเสียความสามารถในการเบรกเมื่ออุณหภูมิการใช้งานสูงขึ้น โดยสาเหตุมีได้หลายอย่าง เช่น การเกิดก๊าสแทรกระหว่างผ้าเบรกและจาน หรือ เกิดจากวัสดุผ้าเบรกที่ไม่ทนความร้อน ฯลฯ ]

2. ต้องทนน้ำได้ดี
3. ต้องสามารถถ่ายความร้อน และระบายความร้อนอกสู่อากาศได้ดี
4. ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของผ้าเบรค แลกกับอายุการใช้งานของจานเบรค หากใช้วัสดุที่แข็งไปอาจมีผลเสียต่อการสึกของจานเบรกด้วย
5. วัสดุจะต้องสัมผัสกับจานเบรค หรือจานดรัมเบรคได้ทั่วถึง ไม่ใช่ใช้งานแล้วหลุดร่อน เบรกไม่จับจานอย่างทั่วถึง

Trend การใช้วัสดุผ้าเบรก
ในช่วงปี 1908 ใยหิน Abestos เป็นที่นิยมสูงในการผลิตผ้าเบรก เนื่องจากสามารถระบายความร้อนได้ดี และมีความทนทานสูง แต่ภายหลังมีผลวิจัยพบปัญหาสุขภาพในช่างที่ทำงานร่วมกับผ้าเบรกชนิดนี้เยอะ เลยสูญเสียความนิยมไป ทำให้ผ้าเบรกประเภท NAO หรือ Non-Abestos Organic เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยจะยังเป็นผ้าเบรกที่ใช้วัสดุธรรมชาติที่ไม่มี Abestos เป็นส่วนผสม

นอกจากนี้ผ้าเบรกจำพวก Semi-Metallic ที่มีส่วนผสมของวัสดุธรรมชาติ และเหล็กก็เริ่มแพร่หลายขึ้น ช่วงปี 1989 ทองแดงเริ่มเป็นที่นิยมในผ้าเบรกมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติระบายความร้อนที่ดีเยี่ยม

ส่วนผสมเนื้อผ้าเบรก

ส่วนผสมเนื้อผ้าเบรก

ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรก แต่ละผู้ผลิตถือเป็นความลับสุดยอด แต่หลักๆจะประกอบไปด้วยสารต่างๆ 5 ส่วน ดังนี้

  1. BINDER หรือ สารยึดเกาะ ทำหน้าที่ยึดสารต่างๆให้เป็นชิ้นเดียวกัน ทำหน้าที่คล้ายๆกาวผสานในอุณหภูมิสูง เช่น Carbon Fiber, Fiber Glass, Phenolic Resin, ฯลฯ
  2. ABRASIVE หรือ สารขัดถู เช่น Mineral Fiber, Metal Oxide, Brass, ฯลฯ
  3. FILLER หรือ สารเติมเต็ม เช่น Steel Wool, Rubber, Barium Sulfate, ฯลฯ
  4. PERFORMANCE MATERIAL หรือ สารเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น Carbon, Friction Dust, Kevlar, ฯลฯ
  5. STRUCTURE หรือ สารโครงสร้าง เช่น Abestos, Ceramics, Mineral Wool Fibers, ฯลฯ

โดยปริมาณ และชนิดของสารที่ใช้ก็จะแตกต่างไปแต่ละผู้ผลิต

การเลือกคุณภาพผ้าเบรก

เวลาผู้ผลิตทดสอบผ้าเบรก หรือแม่กระทั่งแม่ค้าเองเวลาเลือก จะดูคุณสมบัติหลักๆ 2 อย่าง คือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และอัตราการสึกหรอ ในอุณหภูมิต่างๆ โดยจะมีมาตรฐาน  SAE ควบคุม ส่วนมาตรฐานผ้าเบรกที่นิยมในบ้านเราในบ้านเราคือ มอก 97  โดยจะใช้เครื่องทดสอบเบรกหน้าตาเหมือนรูปข้างล่าง ตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และอัตราการสึกหรอ ในอุณหภูมิตั้งแต่ 100 C, 150 C, ..., ไปเรื่อยๆถึงกว่า 350 C

หน้าตาตัวอย่างผลทดสอบ [ มอก 97-2557 ]

การทดสอบเบรก

ส่วนมาตรฐานที่พบบ่อยเช่น SAE J866 จะกำหนดสัญลักษณ์บ่งบอก สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิต่ำ (0-200F) และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิสูง (200-600F) ของผ้าเบรกไว้ตามตารางด้านล่าง

ผ้าเบรก OEM แทบทุกอันจะมีสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวติดอยู่เวลาเลือกใช้ผ้าเบรกทดแทนควรเลือกเบอร์ที่มีค่า ใกล้เคียงกันกับของทีติดรถ

การทดสอบเบรก

รถใช้ตามท้องถนนมักจะมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิต่ำ สูง หากใช้ในท้องสนามควรเลือกใช้ผ้าเบรกที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่อุณหภูมิสูง สูง

แต่ผ้าเบรกก็ไม่ใช่ทุกอย่างของระบบเบรก

การเบรกคือการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของรถไปเป็นพลังงานความร้อน โดยเบรกจะทำหน้าที่ลดความเร็วของล้อเพื่อให้ล้อสร้างแรงเสียดทานกับพื้นถนน

นอกจากผ้าเบรกแล้ว ระบบเบรกยังมีส่วนประกอบอีกมากมาย ตั้งแต่ กระปุกน้ำมันเบรก, น้ำมันเบรก, ลูกสูบคาลิเปอร์เบรก, ล้อ, โช็คหน้า, ฯลฯ

สนใจสินค้าผ้าเบรค คลิก  หรือสอบถามราคาส่งได้ที่ LINE: @TARADFILTER (มีตัว @ ด้วย)

Cr: http://faculty.ccbcmd.edu/~smacadof/DOTPadCodes.htm
https://parts.olathetoyota.com/what-are-brake-pads-made-of