ดีไซน์หัว ของหัวเทียนNGK แต่ละแบบมีแบบไหนบ้าง

ดีไซน์หัว ของหัวเทียนNGK แต่ละแบบมีแบบไหนบ้าง

หัวเทียน NGK มีดีไซน์หลายแบบวันนี้เราเอาตัวที่เห็นในตลาดบ้านหลายๆแบบเรามาให้ดู พร้อมอธิบายข้อดีของดีไซน์แต่ละแบบให้ทุกท่านได้ดูกันนะคะ

เน้นว่าอันนี้เราคุยแค่เรื่องการออกแบบหัว ส่วนรุ่นหัวเทียนจะอยู่ในอีกบทความค่า

Standard Plug

เช่นเบอร์ DCPR8E , BKR5ES-11

  • ตัวนี้เป็นดีไซน์หัวแบบสแตนดาร์ด

V-grooved center electrode spark plug

ดีไซน์นี้กล่องจะเป็นสีเทารุ่น V-Power เช่นเบอร์ TR55

  • มีการเซาะร่องทำมุม 90°กับกึ่งกลางของอิเล็กโทรดกลาง ทำให้ประกายไฟออกมาง่ายขึ้น
  • เนื่องจากประกายออกมาบริเวณกึ่งกลางอิเล็กโทรดมากขึ้น ทำให้ผลของ Quenching Effect ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการจุดสูงขึ้น และประสิทธิภาพการสตาร์ท การเดินเบา และการเร่งดีขึ้นหมด

High ignitability nickel plug

ตัวนี้จะเป็นหัวเทียน Nickel แต่ทำเขี้ยวบางลง เช่นเบอร์ LR7D, MR8E9

  • เส้นผ่าศูนย์กลางของปลายอิเล็กโทรดถูกทำให้เล็กลง นอกจากนี้เขี้ยวกราวด์ก็ทำให้เป็นทรงรี และบางลง ทำให้ผลจาก Quenching Effect ลดลง และได้ประสิทธิภาพการจุดสูงขึ้น

Platinum plug (Long life type)

หัวเทียนรุ่น Laser Platinum เช่นเบอร์ PFR5G-11

  • อิเล็กโทรดกลางเป็นแพลทินัมอัลลอย และมีแพลทินัมอัลลอยในส่วนของเขี้ยวกราวด์ ทำให้ได้ประสิทธิภาพการจุดที่ดีขึ้นและอายุที่นานขึ้น

Iridium plug (Long life type)

หัวเทียน Laser Iridium เช่นเบอร์ IFR6T11,  ILTR6A-13G

  • อิเล็กโทรดกลางจะเป็นอิริเดียมอัลลอย และมีแพลทินัมอัลลอยในส่วนของเขี้ยวกราวด์ ทำให้ได้ประสิทธิภาพการจุดที่ดีขึ้นและอายุที่นานขึ้นด้วย

Firing end-projection type plug

Projectionหัวเทียน คือส่วนที่เซรามิกยื่นออกมาจากปลายสุดเกลียวเหล็กตามภาพ มีในหัวเทียนหลายรุ่นทั้งรุ่นสแตนดาร์ดและหัวเทียนเข็ม เช่น CPR8EA-9 , DCPR8EIX , BPR6EIX-11

  • ตำแหน่งการจุดที่ลึกไปในห้องเผาไหม้มากขึ้นจะให้การจุดที่เสถียรขึ้น แต่จะใช้ได้แค่เฉพาะรถบางรุ่นที่ระบุให้ใช้เท่านั้น ไม่งั้นอาจไปชนลูกสูบ หรือวาวล์ได้

ส่วนอีกแบบหัวเทียนที่มีเทเปอร์ขึ้นมาต่อจากตรงเกลียว เช่นเบอร์ IZFR6K11

  • เขี้ยวกราวด์รุ่นนี้จะออกแบบให้สั้นลงกว่ารุ่นอื่นๆเพื่อลดแรงกระทำต่อเขี้ยวจากความร้อน และแรงสั่นสะเทือนที่สูงขึ้นจากการที่หัวเทียนต้องอยู่ลึกไปในห้องเผาไหม้มากขึ้น

PSPE® plug

เช่น Laser Iridium รุ่น SILZKAR7B11, Ruthenium HX Type B LKR7BHX, Premium RX ทุกเบอร์

  • เขี้ยวกราวด์รุ่นนี้จะสั้นลงเพื่อไม่ให้ไปบังอิเล็กโทรดกลาง ทำให้ผลจาก Quenching Effect ลดลง และได้ประสิทธิภาพการจุดสูงขึ้น ดีไซน์นี้ข้อดีอีกอย่างคือลดการ Overheat และการแตกหักของเขี้ยวกราวด์ เป็นดีไซน์ที่ให้ประสิทธิภาพการจุดอย่างดีแม้กระทั่งเครื่องยนต์ที่แรงอัดสูง

SPE®plug

เช่น หัวเทียน Laser Iridium เบอร์ SIMR8A9, SIFR6A

  • เขี้ยวกราวด์รุ่นนี้จะเป็นดีไซน์ taper-cut และมีแผ่นแพลทินัมเชื่อมไว้ที่ปลายเขี้ยว ช่วยให้ประกายไฟรวมอยู่บนปลายอิเล็กโทรดขั้วบวกได้ดีช่วยลด Quenching Effect และเพิ่มอายุการใช้งาน

DFE plug (Double fine electrode)

ดีไซน์นี้จะมีในหัวเทียน Laser Iridium เบอร์ขึ้นต้นด้วย "DI" เช่น DILKAR7B11, DIFR6D13 และหัวเทียน Ruthenium HX Type A เช่น LFR6AHX-S, FR6AHX-S

  • อิเล็กโทรดกราวด์จะมีแพลทินัมอัลลอยเชื่อมติดลงมา ทำให้ได้การจุดที่ประสิทธิภาพสูงขึ้น และอายุการใช้งานนานขึ้น

Multi-ground electrode plug

หัวเทียนหลายเขี้ยว เช่น

BKR6EK – 2 ground electrode plug
BKUR6ET – 3 ground electrode plug
BKR6EQUP – 4 ground electrode plug

  • การมีเขี้ยวกราวด์หลายเขี้ยวหลักๆคือช่วยเรื่องอายุการใช้งานของหัวเทียน ลดภาระของอิเล็กโทรดจากการใช้โวลท์เตจการจุดที่น้อยลง
  • หัวเทียนเบอร์ BKR6EQUP เป็นหัวเทียนที่มีดีไซน์หัวแบบ semi-surface discharge ถ้าดูจากภาพข้างบนคือภาพล่างสุด โดยจะปล่อยประกายตามแนวผิวฉนวน และช่วยเผาคราบเขม่าคาร์บอนที่สะสมบนฉนวนได้ ทำให้บอดได้ยากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://ngk-sparkplugs.co.th/product-knowledge/basic-knowledge/spark-plug-characteristics/#

ติดตามบทความเกี่ยวกับหัวเทียนจากเราได้ที่

เพิ่มเพื่อน