ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเหล็ก ทำความรู้จักเหล็กทำสเตอร์กัน

ความรู้ชนิดเหล็กเบื้องต้น ทำความรู้จักเหล็กทำสเตอร์กัน

ก่อนจะไปทำความเข้าใจเหล็กที่ใช้ทำสเตอร์ เช่น เหล็ก C49 หรือ เหล็กโครมโมลี่อัลลอย เรามารู้จักเหล็กคร่าวๆก่อน

เหล็กแบ่งได้ 4 ชนิดใหญ่ๆคือ

  1. Carbon Steel
  2. Alloy Steel
  3. Tool Steel
  4. Stainless Steel

มาตรฐาน AISI และ SAE แบ่งชนิดเหล็กจากปริมาณของคาร์บอนในเหล็ก และสารอัลลอยที่ผสมเพื่อให้คุณสมบัติต่างๆในเหล็ก
นอกจากนี้เหล็กยังสามารถแบ่งเกรดได้จากปัจจัยอื่นๆได้ เช่น ขั้นตอนการผลิต กระบวนการde-oxidization การเคลือบผิว การผลิต รูปลักษณ์ การผ่านความร้อน ความแข็ง ฯลฯ

มาตรฐานเหล็กใหญ่ๆจะมีสองอันคือของ AISI (มาตรฐานนี้เลิกอัพเดทแล้ว) และ SAE ทั้งสองมาตรฐานจะแบ่งชนิดเหล็กเป็นเลข 4 หลักโดยมีวิธีอ่านดังนี้

โดยเลขตัวหน้าสองตัว ( _ _ X X ) จะบอกวัสดุหลักของเหล็ก และหมวดหมู่ย่อย คร่าวๆตามนี้ หรือแบบละเอียดให้ดูตารางด้านล่าง

  • 1xxx - Carbon steels
  • 2xxx - Nickel steels
  • 3xxx - Nickel-chromium steels
  • 4xxx - Molybdenum steels
  • 5xxx - Chromium steels
  • 6xxx - Chromium-vanadium steels
  • 7xxx - Tungsten-chromium steels
  • 9xxx - Silicon-manganese steels

ส่วนตัวเลขสองหลักสุดท้าย ( X X _ _ ) จะบอกความหนาแน่นของคาร์บอน ในหลัก 0.01%

อย่างสเตอร์หลังแบบเหล็กของ JOMTHAI ส่วนมากจะเป็นเหล็กมาตรฐาน 1049 หรือ ที่ผู้ผลิตเรียกว่าเหล็ก C49

ซึ่ง 1049 ก็หมายถึง เป็น Carbon Steel ที่มี Manganese ผสมไม่เกิน 1% และมีคาร์บอนผสม 0.49%

นอกจากเหล็ก Carbon Steel 10XX แล้วสเตอร์หลังบางยี่ห้อก็จะมีทำโดยวัสดุอื่นเช่น อลูมิเนียมอัลลอย ไทเทเนียมอัลลอย หรือแบบ Bi-metal ก็มี

สเตอร์หลังส่วนมากจะมีการพิมพ์ชื่อวัสดุลงไปบนตัวสเตอร์ด้วย เช่น C45 / C49 / 7075-T6 ( Aluminium Alloy อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ) สเตอร์หลังเหล็กของ JOMTHAI มักพิมพ์แบบภาพด้านซ้ายไว้ ลูกค้าบางท่านอาจสับสนเป็นเบอร์สเตอร์ กรณีดูเบอร์สเตอร์ให้ดูหลังรหัสสินค้าดังภาพด้านขวา

ใน Carbon Steel เองก็แบ่งได้สามประเภท ดังนี้

  • Low Carbon Steel (Mild Steel) : ซึ่งมีส่วนผสมคาร์บอน 0.04-0.30%
  • Medium Carbon Steel : ซึ่งมีส่วนผสมคาร์บอน 0.31-0.60%  จะแข็งแรงกว่าและขึ้นรูปยากกว่า Low Carbon Steel ใช้เยอะในวัสดุยานยนต์
  • High Carbon Steel or Carbon tool steel 0.61-1.50% หลังการผ่านความร้อนจะได้ความแข็งมากขึ้น จะขึ้นรูปยากขึ้น และแข็งขึ้น

ส่วนเหล็กที่นิยมใช้ผลิตสเตอร์หน้า คือ Alloy Steel อย่างของ JOMTHAI จะใช้วัสดุโครมโมลี่อัลลอย SCM415 / SCM420

เหล็กโครโมลี่ (Chromoly) หรือ โครโมลี่อัลลอย ได้ชื่อมาจาก โครเมี่ยม และ โมลิบดินั่ม ซึ่งเป็นส่วนผสมอัลลอยหลักของเหล็กชนิดนี้ โดนมักใช้โครโมลี่อัลลอย เมื่องานเหล็กต้องการความแข็งมากกว่าเหล็ก Low Carbon Steel แต่ก็มักจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วย

โครเมี่ยมมีคุณสมบัติช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเหล็ก และเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน ในขณะที่ โมลิปดินั่มจะช่วยเรื่องความแข็งเช่นเดียวกัน เหล็กชนิดนี้อยู่ในหมวด AISI 41XX ส่วนที่เป็นรหัส SCM415/ SCM420 จะเป็นรหัสของมาตรฐาน JIS ของญี่ปุ่นอีกที SCM420 จะเทียบเท่า AISI 4118

 

 

ดูสินค้าโซ่ สเตอร์ที่ร้าน

ติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นจาก TARADFILTER ได้ที่

เพิ่มเพื่อน

Credits:
https://www.totalmateria.com/page.aspx?ID=CheckArticle&site=kts&NM=333
www.metalsupermarkets.com
https://khkgears.net/new/gear_knowledge/abcs_of_gears-b/Gear_Materials_and_Heat_Treatments.html